นโยบายและแนวปฏิบัติด้านสังคม

บริษัทดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นในการบริหารงานตามหลักคุณธรรมจริยธรรม มีความโปร่งใสในการบริหารจัดการ มีความน่าเชื่อถือ มีการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียกับองค์กรอย่างเป็นธรรม มีระบบการตรวจสอบที่ดี ตลอดจนคำนึงถึงสังคมรอบข้าง นอกจากนั้น บริษัทให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับความปลอดภัย ความมั่นคง สุขอนามัย และสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องเหมาะสม โดยมีแนวทางปฏิบัติ

เป้าหมายการจัดการด้านความยั่งยืนด้านสังคม

ผลการดำเนินงานด้านสังคม

บุคลากรถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสำคัญและมีบทบาทต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนขององค์กร การขับเคลื่อนองค์กรไปสู่วิสัยทัศน์ ตอบสนองเป้าหมายและพันธกิจ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีทรัพยากรที่มีคุณค่าทั้งด้านความรู้และทักษะ ตลอดจนการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ บริษัทยังเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาตนเองของบุคลากรเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน และยุคที่ข้อมูลและการเรียนรู้เป็นพลวัต เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและของบุคลากร

การอบรมพนักงาน

จำนวนชั่วโมงฝึกอบรมของพนักงานเต็มเวลา

(ไม่รวมแพทย์)

54,702 ชั่วโมง

จำนวนชั่วโมงฝึกอบรมโดยเฉลี่ย

7.6 ชั่วโมง


ภาพรวมการบริหารงานทรัพยากรบุคคลในปี 2565

บุคลากรถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีความสำคัญและมีบทบาทต่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนขององค์กร การขับเคลื่อนองค์กรไปสู่วิสัยทัศน์ ตอบสนองเป้าหมายและพันธกิจ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีทรัพยากรที่มีคุณค่าทั้งในแง่ความรู้และทักษะ ตลอดจนการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 บริษัทและบริษัทย่อยมีพนักงานรวมทั้งสิ้น

8,877 คน

จำนวนพนักงานทั้งหมด

(ไม่รวมแพทย์)

7,195 คน


ชาย

1,200 คน

หญิง

5,995 คน

จำนวนพนักงานทั้งหมด

1,682 คน


ชาย

903 คน

หญิง

779 คน

พนักงานเต็มเวลา
346 คน
พนักงานไม่เต็มเวลา
1,336 คน

จำนวนพนักงานแยกตามประเภทการทำงาน


พนักงานเต็มเวลา
5,573 คน

2,262 คน

1,875 คน

1,436 คน


พนักงานไม่เต็มเวลา
1,622 คน

1,127 คน

495 คน

0 คน

พยาบาล และผู้ช่วยพยาบาล

พนักงานปฎิบัติการและสนับสนุนทางการแพทย์

พนักงานทั่วไป


การจ้างงานโดยไม่แบ่งแยก และความหลากหลาย

การไม่แบ่งแยก และความหลากหลายของพนักงานเป็นปัจจัยสำคัญที่บริษัทเล็งเห็นว่าเป็นสิ่งสำคัญและโอกาสในการพัฒนาธุรกิจ โดยบริษัทปฏิบัติกับทุกคนอย่างเท่าเทียม และไม่แบ่งแยก บริษัทตั้งใจแน่วแน่ว่าจะไม่ดำเนินการกีดกัน หรือเลือกปฏิบัติกับบุคคลเฉพาะกลุ่มไม่ว่าจะเป็น เชื้อชาติ สัญชาติ อายุ เพศ สีผิว ภาษา หรือความบกพร่องหรือข้อจำกัดของร่างกาย

การจ้างงานผู้ที่บกพร่องหรือ มีข้อจำกัดทางร่างกาย

36 คน

ผู้บกพร่องทางการได้ยิน

12 คน

ผู้บกพร่องทางสายตา

1 คน

ผู้บกพร่องทางการเคลื่อนไหว

21 คน

ผู้บกพร่องทางสติปัญญา

2 คน

ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี โดยสมัครใจ

5 คน


สรุปข้อมูลข้อร้องเรียนที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชน การเลือกปฏิบัติ การล่วงละเมิดทางเพศ การคุกคาม

0 ข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน
0 ข้อร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย ผู้ใช้บริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และคู่ค้า

การสนับสนุนการเข้าถึงบริการทางการแพทย์อย่างทั่วถึง

บริษัทตระหนักดีว่าการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ที่ง่ายและมีคุณภาพเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ และยังเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจของบริษัท เพื่อให้ผู้รับบริการที่มีความแตกต่างและหลากหลายในบริบทต่าง ๆ เช่นในเชิงพื้นที่ สถานะทางการเงิน เป็นต้น สามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้ง่าย และสะดวก ส่งผลต่อภาวะการมีสุขภาพที่ดี การรักษาอาการเจ็บป่วย และการเสียชีวิตของชาวไทยและชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทย

โรงพยาบาลที่รับประกันสังคม

10 แห่ง

ผู้ใช้บริการประกันสังคม

2,340,000 ครั้ง

ผู้ใช้บริการประกันสังคมต่อ ผู้ใช้บริการทั้งหมด

70%


ส่วนร่วมในการบริหารงานภายใต้สถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมในปัจจุบันและอนาคต บริษัทได้รับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างทันท่วงที โดยมีมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงจากสถานการณ์และให้เกิดความปลอดภัยกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย นอกจากนี้ บริษัทยังได้ให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการดำเนินการเกี่ยวกับการดูแล รักษา ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 โดย

ให้บริการกักกันในรูปแบบ ASQ และ SHA+

รวม 5,850 เตียง

รับรองผู้ป่วยโควิด-19 ในโครงการ Hospitel และโรงพยาบาลสนาม รวม 100,000 ราย

สนับสนุนโรงพยาบาลสนามทั้งหมด 4 แห่ง

รวม 20,200 เตียง

ให้บริการฉีดวัคซีนทางเลือก แก่ประชาชนกว่า 1,000,000 ราย


ความปลอดภัยของพนักงาน

โรงพยาบาลได้นำกฎหมายมาเป็นกรอบแนวทางในการบริหารงาน เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 เป็นต้น เพื่อสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยและให้การดำเนินงานด้านความปลอดภัยเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

อัตราการเสียชีวิตอันเนื่องจากการบาดเจ็บจากการทำงาน 0 ราย/ล้านชั่วโมงการทำงาน

0 ราย/ล้านชั่วโมงการทำงาน

อัตราการบาดเจ็บขั้นรุนแรงอันเนื่องมาจากการทำงาน

3.6 ราย/ล้านชั่วโมงการทำงาน

อัตราความรุนแรงของการบาดเจ็บอันเนื่องมาจากการทำงานถึงขั้นสูญเสียวันทำงาน

4.51 วัน/ล้านชั่วโมงการทำงาน

อัตราการบาดเจ็บอันเนื่องมาจากการทำงานถึงขั้นสูญเสียวันทำงาน (LTIFR)

1.8 ราย/ล้านชั่วโมงการทำงาน